วันพฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2558


 
คำถาม

ปัจจัยที่ทำให้นักเรียนโรงเรียนชะอวดผลการเรียนตกต่ำมากกว่ากันระหว่างเพื่อนและเทคโนโลยี

1.ปัญหาส่วนร่วมที่ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนตกต่ำ

1. จากตัวเด็กเอง



1.1 ความเจ็บป่วยทางกาย

เด็กที่ป่วยบ่อย ๆ มาตั้งแต่เล็ก หรือมีโรงเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคไต โรคหัวใจ ทำให้ต้องขาดเรียนบ่อย ๆ เรียนไม่ทันเพื่อน
 
1.2 ความสามารถทางสติปัญญาและการเรียนรู้
 


เด็กบางคนมีระดับสติปัญญาน้อยกว่าเพื่อน ไม่สามารถเรียนรู้บทเรียนได้เท่าเพื่อน ผู้ปกครองจะสังเกตเห็นได้ตั้งแต่ระยะแรกของการเจริญเติบโต โดยที่เด็กจะพัฒนาช้ากว่าเด็กอื่นในอายุเดียวกัน เช่น เดินช้า พูดช้า

1.3 ความผิดปกติของสมาธิ

เด็กที่มีอาการซนอยู่ไม่สุข ความสนใจสั้น ขาดสมาธิในการเรียน เนื่องจากมีความผิดปกติของระบบสมอง

1.4 สุขภาพจิตของเด็ก

เด็กที่มีลักษณะซึมเศร้า หงอยเหงา ตื่นเต้น ตกใจง่าย วิตกกังวล เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่ไม่มีความสุข หรือเป็นเด็กที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ขาดความกระตือรือร้น ขาดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์

2. สาเหตุจากผู้ปกครอง


2.1 ผู้ปกครองไม่เห็นความสำคัญของการศึกษาของเด็ก ไม่สนับสนุนให้เด็กไปโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ ปล่อยให้เด็กขาดเรียนอย่างไม่มีเหตุผลที่สมควร หรือผ็ปกครองที่ไม่สนใจดูแลติดตามการเรียนของเด็ก ไม่ดูแลให้เด็กทำการบ้าน ไม่จัดให้มีอุปกรณ์การเรียน เป็นต้น

2.2 ครอบครัวที่มีความขัดแย้งกันเสมอ ๆ เกิดการทะเลาะวิวาทเป็นประจำ ทำให้บรรยากาศของครอบครัวไม่มีความสุข เป็นผลเสียต่อสุขภาพจิตของเด็ก

3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ





3.1 โรงเรียนอยู่ไกลจากบ้านมากเกินไป เด็กต้องเหน็ดเหนื่อย และเสียเวลาในการเดินทาง ทำให้อ่อนเพลียเกินกว่าที่จะเรียนได้

3.2 โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม มีเสียงรบกวนมากเกินไป เพราะต้องอยู่ริมถนน หรือบริเวณตลาดที่มีกลิ่นรบกวน หรือห้องเรียนที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ

3.3 ครูที่สุขภาพจิตไม่ดี หงุดหงิด อารมณ์เสีย ทำโทษเด็กรุนแรงเกินไป ทำให้เด็กไม่อยากไปโรงเรียน

3.4 เด็กอื่น ๆ ในโรงเรียนมีปัญหาสุขภาพจิตมาก เช่น ความประพฤติเกเร ก้าวร้าว ติดสารเสพติด



ข้อปฏิบัติของผู้ปกครอง

1. ยอมรับในระดับสติปัญญา และความสามารถของเด็กแต่ละคน พยายามให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมกับสภาพ ถ้าเด็กไม่สามารถเรียนในสายสามัญได้ ควรสนับสนุนให้เด็กเรียนในสายอาชีพแทน

2. ไม่แสดงความดูถูก หรือรังเกียจเด็กที่เรียนหนังสือไม่เก่ง ไม่เปรียบเทียบผลการเรียนของเด็กแต่ละคน แต่ควรแสดงความเห็นใจและให้กำลังใจ เด็กใช้ความสามารถเต็มที่

3. ควรส่งเสริมจริยธรรม (ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อ เป็นต้น) ให้กับเด็ก ควบคู่ไปกับความรู้ด้วย

4. เอาใจใส่ ติดตามผลการเรียนของเด็กอย่างสม่ำเสมอ (แต่ไม่เคี่ยวเข็ญจนเกินไป) ถ้าพบสิ่งผิดปกติ เช่น การเรียนตกต่ำลง หรือความประพฤติเปลี่ยนไป ควรรีบหาสาเหตุและแก้ไขตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

ที่มา http://followhissteps.com/web_health/study.html

2.ปัญหาทางด้านเทคโนโลยี

ปัจจุบันกระแสการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้รับความนิยมสูงมาก และถูกใช้โดยคนทุกเพศทุกวัยทั่วโลก รวมถึงจำนวนเด็กเล็กที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สมัยนี้ วัยเฉลี่ยของเด็กที่ได้รู้จักและเข้าถึงสังคมออนไลน์เป็นครั้งแรกคือ 8 ปี ขนาด 42% ของเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปีใช้ «Facebook»
สมาร์ทโฟนก็กลายเป็นสิ่งที่คนในสังคมนิยมใช้มากขึ้นเช่นกัน ไม่น่าเชื่อเลยว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่เราไม่รู้จักกันเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เพราะในไตรมาสที่สามของปี 2012 มากกว่าหนึ่งพันล้านเครื่องถูกซื้อและนำไปใช้งานทั่วโลก เมื่อ Apple Inc. เสนอสินค้าใหม่ คือ iPhone ให้เรารู้จักในปี 2007 (หนึ่งในโทรศัพท์มือถือรุ่นแรกๆ ที่ใช้อินเตอร์เฟซแบบการสัมผัส) บริษัทของเขาได้นำสังคมโลกเข้าสู่ยุคใหม่ของการ “แบ่งปันและสื่อสารกันทางโลกออนไลน์”
ขณะนี้มากกว่า 144 ล้านคนที่อายุตำ่กว่า 14 ปีที่เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน และตัวเลขนั้นมีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จริงๆแล้วเด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้แอพที่แบ่งปันข้อมูลและภาพถ่ายทั้งหลายแหล่ที่สังคมปัจจุบันกำลังนิยมกันอยู่ ถึงอย่างงั้น พวกเขาก็ยังลงทะเบียนใช้แอพพวกนั้นอยู่ดี

แนวโน้มทางสื่อสังคมออนไลน์
 

ข้อมูลนี้แสดงรูปแบบให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเด็กและวัยรุ่นต้องการที่จะใช้สื่อสังคมออนไลน์ และพวกเขาจะไม่ยอมรับคำว่า “ไม่” เป็นคำตอบ ณ บัดนี้ยุคของสื่อสังคมออนไลน์ได้มาเยือนเราแล้ว มันขึ้นอยู่กับเราว่าเราจะปรับตัวตามแนวโน้ม ความนิยม ของสังคมหรือไม่
การเข้าสู่โลกออนไลน์โดยที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการที่ควรประพฤติตนในโลกสื่อสังคมนั้น เป็นอะไรที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเด็กอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเมื่อเด็กจำนวนมากไม่รู้จักปัญหาหรือความเสี่ยงที่สามารถมากับสิ่งที่ดูน่าจะบริสุทธิ์ผ่องใส่อย่างเช่นการเล่นอินเทอร์เน็ตหรือการแบ่งปันภาพถ่าย วิธีการที่ดีที่สุดที่จะต่อสู้กับปัญหานี้คือการเผยแพร่ความรู้ให้กับทั้งด็กและผู้ปกครอง ว่าแนวทางในการใช้สื่อสังคมออนไลน์และวิธีการท่องโลกดิจิตอลอย่างปลอดภัยนั้น มีวิธีการอย่างไรบ้าง
สื่อสังคมออนไลน์สมัยนี้สามารถก่อปัญหาและเป็นอันตรายร้ายแรงให้กับเด็กได้ เพราะเดี๋ยวนี้โลกออนไลน์นำเสนอข้อมูลมากมายที่ทั้งน่าจดจำและประทับใจ ซึ่งเด็กสามารถเข้าถึงได้ง่าย เพราะฉะนั้นเนื้อหาทางสื่อสังคมจึงมีอิทธิพลต่อพวกเขาอย่างมาก
เด็กและวัยรุ่นมากมายถูกรังแกและข่มขู่ทางสังคมออนไลน์ และปัญหาคือโลกยังไม่มีแพลตฟอร์มสื่อสังคมไหนที่อนุญาตให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 13 ปีเข้าใช้งานได้ เรายังไม่มีสื่อสังคมที่ถูกออกแบบมาให้เด็กเล่นโดยเฉพาะ หรือเพื่อแก้ไขปัญหาแนวโน้มทางสังคมที่ไม่ดีเหล่านี้ การเล่นและใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ควรจะเป็นอะไรที่สนุกสนาน เพราะเด็กทั้งต้องการและปรารถนาที่จะมีเวทีแสดงตนในโลกดิจิตอล และโลกออนไลน์นั้นควรจะปลอดภัยพอที่จะให้พวกเขาติดต่อ สื่อสาร และแบ่งปันภาพถ่ายกับคนอื่นได้อย่างสร้างสรรค์และปราศจากความกังวล
 
 
3.การติดเพื่อนของเด็กนักเรียไทย
การคบเพื่อน ในวัยรุ่นเพื่อนมีอิทธิพลมาก เพราะวัยรุ่นต้องการเป็นที่ยอมรับของเพื่อน
จึงมักเอาอย่างและทำตามค่านิยมของเพื่อน เวลามีปัญหาอะไรวัยรุ่นมักจะปรึกษากันเองค่อนข้างมาก ถ้าคบเพื่อนดีมีกิจกรรมที่เหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อตัววัยรุ่นและสังคม
ถ้าคบเพื่อนที่เกเรมีความประพฤติไม่เหมาะสมก็อาจพาไปให้เสียได้ ฉะนั้น เขาควรจะเป็นคนที่สามารถแยกแยะได้ว่าควรคบคนแบบใดเป็นเพื่อน
วัยรุ่นแทบทุกคนจะให้ความสำคัญแก่เพื่อนฝูงมาก โดยลักษณะหนึ่งที่เกิดขึ้นในการคบเพื่อน คือ การเลือกเพื่อนที่มีความสนใจคล้ายคลึงกัน มีลักษณะบางอย่างเหมือนกับตนเองหรือสามารถสนองความพึงพอใจอย่างของตัววัยรุ่น และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ เขาไปมาหาสู่กันได้ง่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกใกล้ชิดไว้วางใจ ยอมรับกันและกัน ตลอดจนสามารถเปิดเผย ความรู้สึกเร้นลับบางอย่างต่อกันได้

การติดเพื่อนมักเกิดควบคู่กับการเริ่มเป็นอิสระจากพ่อแม่ อยากคิดเองทำอะไรด้วยตัวเอง จนทำให้พ่อแม่หลายท่านอดรู้สึกน้อยใจไม่ได้นอกจากนี้ หากพ่อแม่ไม่พยายามยอมรับการเติบโตทางจิตใจของลูก ไม่ไว้ใจ หรือให้โอกาสในการคิดการตัดสินใจ อาจทำให้เกิดความห่วงใยที่เกินพอดี ความรู้สึกเหล่านี้ มักกลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกวัยรุ่นวิ่งหนีออกจากพ่อแม่ยิ่งขึ้น การกีดกันหรือห้ามลูกคบเพื่อนคนนั้น คนนี้ด้วยท่าทีสื่อสารแบบแข็งกร้าว มักจบลงด้วยการที่พ่อแม่และลูกมีความขัดแย้งรุนแรงยิ่งขึ้น
 
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้วัยโจ๋ตัดสินใจหนีออกจากบ้านด้วยความสมัครใจนั้น
หัวหน้าศูนย์ข้อมูลคนหายบอกว่าเด็กไทยในปัจจุบันอารมณ์ค่อนข้างเปราะบาง ส่วนสำคัญมาจากพ่อแม่ ผู้ปกครองเลี้ยงลูกแบบประคบประหงม ไม่กล้าดุว่ากลัวลูกโกรธ แต่เมื่อโดนดุและตำหนิ เด็กจะรับไม่ได้ว่าทำไมต้องโดนดุด่าทั้งที่เป็นเรื่องเล็กน้อย เด็กจึงน้อยใจและไม่อยากอยู่บ้าน ที่น่าเป็นห่วงคือ การหายตัวออกจากบ้านด้วยความสมัครใจของเด็กไทยจะกลายเป็นแฟชั่น
ที่เด็กไทยแนะนำเพื่อนให้เลียนแบบเพื่อใช้เป็นวิธีการต่อรองสิ่งที่ต้องการกับพ่อแม่ อย่างเด็กบางคนเห็นเพื่อนใช้โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ก็อยากได้บ้าง เมื่อพ่อแม่ไม่ให้ก็รู้สึกผิดหวังและคิดหนีออกจากบ้านเพื่อประชดพ่อแม่ ปัญหาที่เกิดกับเด็กที่หนีออกจากบ้าน นอกจากความไม่ปลอดภัยในชีวิตแล้ว ยังมีปัญหาที่น่าห่วงอีกมากมายตามมา